เหล็กกัลวาไนซ์ส่วนใหญ่จะเหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง งานเสาไฟ เสาไฟทางหลวง โดยวัสดุที่ใช้จะเป็นเหล็กสักส่วนใหญ่และจะถูกนำไปชุบเคลือบด้วยซิงค์ออกไซด์เพื่อป้องกันการเกิดสนิม ซิงค์ออกไซด์คือการเคลือบผิวเหล็กด้วยสังกะสีโดยใช้วิธีการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip galvanizing) เป็นวิธีการที่นิยมใช้สารนี้เพื่อปรับสภาพผิวเหล็กกล้า เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อน การเกิดสนิมให้กับวัสดุ ซึ่งจะส่งผลให้เหล็กของเสาไฟ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และวิธีนี้จึงเป็นที่นิยมจนถึงวัสดุพื้นฐานของอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เช่น วัสดุก่อสร้าง เสาไฟเป็นต้น
ทางเรายินดีบริการให้คำปรึกษาท่าน กดที่นี่เพื่อสอบถาม
ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการชุบสังกะสี เหล็กหรือเสาไฟที่ถูกการชุบจะถูกนำไปเคลือบสารละลายฟลักซ์ที่มีแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4 Cl) และซิงค์คลอไรด์ (ZnCl2 ) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเป็นคราบสนิม อีกทั้งยังเพื่อช่วยให้สังกะสีสามารถเคลือบผิวเหล็กได้อย่างอย่างสม่ำเสมออีกด้วย
การเคลือบฟลักซ์สามารถทำได้2 วิธี ดังนี้
- วิธีที่หนึ่ง ฟลักซ์จะลอยปกคลุมอยู่บนผิวสังกะสีที่ถูกหลอมเหลวในบ่อและเหล็กจะถูกสัมผัสสังกะสีหลังจากเคลื่อนผ่านชั้นฟลักซ์โดยทันที
- วิธีที่สอง เหล็กจะถูกจุ่มในสารละลายฟลักซ์ในบ่อฟลักซ์และทำให้แห้ง ด้วยการอบร้อนก่อนนำไปจุ่มในบ่อสังกะสีต่อไป
ขั้นตอนการผลิตเหล็กชุบสังกะสี เสาไฟชุบสังกะสี
การชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน สามาถแบ่งออกได้ เป็น 2 วิธี ดังนี้
- กระบวนการชุบสังกะสีแบบต่อเนื่อง (Continuous Process) กระบวนการที่หนึ่งจะใช้กับชิ้นงานขนาดยาว เช่น ขด ลวดเหล็ก หรือ คอยล์แผ่นเหล็ก ซึ่งจะถูกคลี่ออก และเคลื่อนตัวสู่บ่อในแต่ละขั้นตอนของการชุบสังกะสีอย่างต่อเนื่องด้วยความเร็วที่คงที่และในตัววัสดุจะสัมผัสกับน้ำสังกะสีเป็นเวลาไม่นาน
- กระบวนการ ชุบสังกะสีแบบไม่ต่อเนื่อง Non-continuous process หรือ General galvanizing) กระบวนการนี้มักจะถูกใช้กับชิ้นงาน ประเภทเหล็ก ท่อ เหล็กฉาก คานเหล็ก และสกรูน็อต โดยชิ้นงานจะถูกจับยึดด้วยระบบเครนและถูกจุ่มลงในบ่อสารเคมีเพื่อเป็นการเคลือบผิวในบ่อสังกะสี ด้วยความเร็วและระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไปเป็นเวลาต่อเนื่องเพียง 1-10 นาที
ข้อดีของเหล็ก หรือใช้ เสาไฟกัลวาไนซ์
1. ประหยัดค่าสีกันสนิม เพราะเหล็กกัลวาไนซ์จะถูกชุบเคลือบด้วยสังกะสี
2. สามารถช่วยประหยัดในระยะยาว (long term saving and less maintenance) เนื่องจากอายุการใช้งานยาวนานกว่า 50 ปี
3. สะดวกในการเก็บวัสดุ ไม่ต้องกลัวสนิมหรือการกัดกร่อนของสนิม
ข้อเสียของ เหล็กกัลวาไนซ์
1. เหล็กกัลวาไนซ์อาจจะเกิดสนิมได้บริเวณที่เป็นข้อต่อเพราะบริเวณนั้นต้องมีการตาร์บเกลียว จะทำให้เหมือนเป็นการไปขัดสังกะสีที่ถูกเคลือบนั้นออกไปด้วย
2. เหล็กกัลวาไนซ์ที่ถูกเคลือบแล้วจะไม่เหมาะกับการใช้งานในระบบปะปา หรือระบบท่อ เนื่องจากสังกะสีอาจจะปนเปื้อนกับระบบน้ำได้ซึ่งเป็นอันตรายต่อการบริโภคและอุปโภค
3. เหล็กกัลวาไนซ์จะเป็นอันตรายอย่างมากจากการเชื่อม เนื่องจากการเชื่อมเหล็กชนิดนี้ ก่อสารพิษจากสังกะสี ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและอาจจะก่อให้อันตรายต่อผู้ปฎิบัติงาน
ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมเหล็กชุบสังกะสีในประเทศนั้นจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ความจำเป็นในการสร้างสิ่งปลูกสร้างจึงจำเป็นต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน เราจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจในเทคโนโลยีการผลิตเหล็กชุบสังกะสี และการพัฒนาเทคโนโลยีการชุบสังกะสีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาตลอดจนส่งเสริมการผลิตเหล็กชุบได้อย่างกว้างขวาง